วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเติมหมึกอิ้งค์แทงค์

คู่มือการใช้งาน
(ระบบเติมหมึกอัตโนมัติ Auto refill)
การพิมพ์ของเครื่องอิ้งค์เจ็ต มีอยู่ 2 วิธี ดังนี้

1. Thermal Electric (ความร้อน) เป็นการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นน้ำหมึกที่หัวพิมพ์ให้เกิดวามร้อนและฉีดออกมา ใช้ในยี่ห้อ  HP , CANON , LEXMARK
2. Piezo Electric (แรงดันไฟฟ้า) เป็นการใช้ไฟฟ้าไปกระตุ้นให้แท่ง Piezo Crystal สั่นและดันเอาน้ำหมึกออกมา ใช้ในยี่ห้อ EPSON 
การทำงานของระบบ

การทำงานของระบบ tank จะประกอบด้วย 2 ห้อง คือห้องเล็กและห้องใหญ่ โดยที่แรงดันในสายยางและห้องใหญ่ จะคงที่ตลอดเท่ากับห้องเล็กซึ่งอากาศจากภายนอกจะดันเข้ามาแทนที่ เมื่อมีการใช้หมึก หมึกจากห้องหมึกใหญ่จะค่อยๆ ลดลงโดยที่ความดันยังคงที่ ดังนั้นการใช้งานปกติหมึกที่อยู่ในห้องเล็กจะสูงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังรูป

จุกยางจะมี 2 จุก คือจุกเล็กและ จุกใหญ่ โดยการใช้งาน ภาวะปกติให้ปิดจุกใหญ่ไว้ส่วนด้าน จุกเล็กให้เปิดออกและใส่ชุดกรองอากาศไว้ดังรูป

เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายเครื่องพิมพ์และชุดแทงค์
  1. ต้องถอดชุดกรองอากาศออกก่อนและปิดจุกยางเล็ก และปิดจุกยางใหญ่ทุกครั้ง
  2. เก็บสายยางให้เรียบร้อยโดยให้มีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด หรือพับสายยางและหนีบด้วยคลิปหนีบ หรือเทปใสเล็กรัดสายยางไว้ เนื่องจากแรงดันในสายยางจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย
  3. ชุดแท้งค์ให้อยู่ในระนาบเดียวกับเครื่องพิมพ์หรือวางบนถาดรองรับกระดาษด้านหน้า (ถ้ามี)
  4. ห้ามวางชุดแท้งค์บนเครื่องพิมพ์
เมื่อต้องการเติมหมึก
  1. ควรที่จะต้องพับสายยางและใช้คลิปหนีบกระดาษ หรือเทปใสเล็กรัดสายยางไว้ เพราะว่าถ้าไม่พับสายยาง อาจทำให้แรงดันสูงขึ้น ขณะเติมหมึกซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเครื่องพิมพ์
  2. ถอดชุดกรองอากาศออก ปิดจุกเล็กไว้ก่อน แล้วค่อยเปิดที่จุกใหญ่
  3. เติมหมึกให้ได้ตามปริมาณที่ต้องการ ปิดจุกใหญ่แล้วค่อยเปิดจุกเล็ก
ตัวอย่างของแท้งค์ที่มีแรงดันเปลี่ยนไป           ซึ่งเป็นอันตรายต่อเครื่องพิมพ์
ดูรูปประกอบซึ่งอาจมีสาเหตุที่เป็นไปได้ดังนี้
  1. วางชุดแท้งค์สูงกว่าเครื่องพิมพ์
  2. เปิดจุกเล็กและจุกใหญ่พร้อมกัน
การแก้ไขแท้งค์ที่มีแรงดันเปลี่ยนไป
  1. ควรที่จะต้องพับสายยางและใช้คลิปหนีบกระดาษ หรือเทปใสเล็กรัดสายยางไว้ เพราะว่าถ้าไม่พับสายยาง อาจทำให้แรงดันสูงขึ้น ขณะเติมหมึกซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเครื่องพิมพ์
  2. ถอดชุดกรองอากาศออก ปิดจุกเล็กและ ปิดจุกใหญ่
  3. เอียงถังหมึก ดังรูปสังเกตเห็นว่าหมึกพิมพ์จะไหลจากห้องเล็กสู่ห้องใหญ่ ดังรูป
  • เอียงถังหมึกตั้งตรงตามปกติ
สาเหตุที่ทำให้หัวพิมพ์เสื่อม หรือเสีย
  1. เครื่องพิมพ์ไม่ได้ถูกใช้งานเป็นเวลานานเกิน 2 สัปดาห์ หมึกจะเริมแห้งและทำให้หัวพิมพ์อุดตัน
    2. น้ำหมึกในตลับเริ่มหมด แล้วยังใช้พิมพ์งานต่อไปอีก ฉะนั้นหัวพิมพ์จะขาดน้ำหมึกหล่อเลี้ยง และไม่สามารถระบายความร้อนที่หัวพิมพ์ออกไปได้ จึงเป็นผลทำให้หัวพิมพ์เสียหายอย่างถาวร
    3. หัวพิมพ์หมดสภาพหรืออายุการใช้งาน
    4. นำตลับหมึกมาเติมหมึกและนำกลับมาใช้งานบ่อยครั้งเกินไป หรือการดูแล และคุณภาพของน้ำหมึกที่ใช้เติมไม่ดี

    เทคนิคป้องกันและวิธีแก้ไขปัญหา
  2. หากเครื่องพิมพ์ไม่ค่อยได้ใช้งาน ควรเปิดเครื่องพิมพ์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งและทดลองพิมพ์ เพื่อให้ระบบของเครื่องทำความสะอาดหัวพิมพ์ หากงานพิมพ์ปรากฎสีใดสีหนึ่งขาดหายไป ควรทำการเติมหมึกหรือ สั่งล้างหัวพิมพ์จากเครื่องไดร์เวอร์เครื่องพิมพ์รุ่นนั้นๆ และให้ทดลองพิมพ์งานต่อไป ถ้ายังมีสีที่ขาดหายไปควรส่งให้ช่างที่ชำนาญตรวจสอบต่อไป (สำหรับตลับที่มีหัวพ่นและหมึกอยู่ตลับเดียวกันให้นำตลับหมึกจุ่มในน้ำร้อนประมาณ 80 องศา ประมาณ 10 นาทีแล้วนำกระดาษทิชชูมาซับเพื่อดูว่าน้ำหมึกออกเป็นปกติหรือยังถ้าไม่ดีขึ้นแสดงว่าตลับพิมพ์นี้อาจเสียหายถาวรไม่ควรนำตลับที่เสื่อมหรือเสียนี้มาเติมหมึก

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

GPS ระบบติดตามตัวและคนหาตำแหน่งนำทา

GPS ระบบติดตามตัวและคนหาตำแหน่งนำทาง

What 's GPS

ความหมาย จีพีเอส (GPS)
จีพีเอส (GPS) มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Global Positioning System หมายถึง ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก โดยใช้วิธีการคำนวณตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ของอุปกรณ์รับสัญญาณ จากค่าตำแหน่งพิกัดจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก ที่ส่งผ่านสัญญาณนาฬิกามายังโลก

จีพีเอส เป็นระบบนำร่องโดยอาศัยคลื่นวิทยุและรหัสที่ส่งมาจากดาวเทียม NAVSTAR (NAVigation Satellite Timing and Ranging) จำนวน 24 ดวงที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลก สามารถใช้ในการหาตำแหน่งบนพื้นโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ทุกๆ จุดบนผิวโลก

GPS (Global Positioning System) เป็นระบบดาวเทียม NAVSTAR ที่ออกแบบและจัดสร้างโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการนำหน (Navigation) มีวัตถุประสงค์ในการออกแบบคือ
1) เพื่อให้มีผู้ใช้ประโยชน์ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนได้เป็นจำนวนมาก
2) เพื่อเครื่องรับและอุปกรณ์ใช้งานได้ง่ายและมีราคาต่ำ
3) เพื่อใช้ได้สะดวกไม่มีข้อจำกัด นั่นคือ ใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ขึ้นกับสภาพ ภูมิอากาศและสถานที่
4) ให้ความถูกต้องทางตำแหน่งตามเงื่อนไขที่ฝ่ายทหารกำหนด 
GPS เป็นเพียงระบบหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ที่เราเรียกระบบนี้ว่า GNSS หรือ Global Navigation Satellite System ซึ่งยังมีอีกหลายระบบที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น

 NAVSTAR – USA นิยมเรียกว่า GPS GLONASS —
 Russia Galileo - European Union Beidou —
 China QZSS – Japanese IRNSS—
 Indian Regional Navigational Satellite System -India

องค์ประกอบของ GPS


จีพีเอส (GPS) มีหลักการทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ และรหัสที่ส่งมาจากดาวเทียม NAVSTAR จำนวน 24 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลกวันละ 2 รอบและมีตำแหน่งอยู่เหนือพื้นโลกที่ความสูง 20,200 กิโลเมตร สามารถใช้ในการหาตำแหน่งบนพื้นโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ทุกๆ จุดบนผิวโลก ใช้นำร่องจากที่หนึ่งไปที่อื่นตามต้องการ ใช้ติดตามการเคลื่อนที่ของคนและสิ่งของต่างๆ การทำแผนที่ การทำงานรังวัด (Surveying) ตลอดจนใช้อ้างอิงการวัดเวลาที่เที่ยงตรงที่สุดในโลก

องค์ประกอบของระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ

1. ส่วนอวกาศ (Space segment ) 2. ส่วนสถานีควบคุม (Control segment) และ 3. ส่วนผู้ใช้ (User segment)